วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Ceramic

ปัจจุบันโรงงานเซรามิกในจังหวัดลำปาง มีประมาณ 200 โรงงาน และกว่าครึ่งสามารถส่งออกได้ และยังมีโรงงานขนาดเล็กแบบครอบครัวอีกไม่ต่ำกว่า 100 โรงงาน มีการจ้างงานรวมประมาณ 9,000 คน มีมูลค่าการผลิตมากกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี จนปัจจุบันจังหวัดลำปางเป็นที่รู้จักทั่วไปว่าเป็นเมืองแห่งเซรามิค

ประเภทของเซรามิก :
ผลิตภัณฑเซรามิก มีความแตกตางกัน ขึ้นอยูกับผูใชหรือ ตามความเหมาะสมกับคุณลักษณะของผลิตภัณฑเซรามิกประเภทนั้น อยางเชน การแบงชนิดของผลิตภัณฑเซรามิกโดยอาศัยประโยชน์การนำไปใช้ งานสามารถแบ่งเซรามิกออกเป็น
  - เครื่องใช้ บนโต๊ะอาหารหรือ Tableware
 - ของประดับ ของตกแต่งหรือDecorative Items and Suvenire
 - กระเบื้องเคลือบต่างๆ และกระเบื้องโมเสคหรือ Ceramic Tiles and Mosaic
 - สุขภัณฑ์หรือ Sanitary ware
 - ลูกถ้วยไฟฟ้าหรือ Insulator
แตถาใชเกณฑที่เกี่ยวกับคุณสมบัติทางดานกายภาพ และเคมีของผลิตภัณฑแลวเราจะสามารถแบงผลิตภัณฑ
เซรามิก ออกเป็น
 - เซรามิกที่มีความพรุนตัวสูง หรือเอิร์ทเท่นแวร์เซรามิก
 - เซรามิกที่มีความพรุนตัวต่ำหรือ สโตนแวร์เซรามิก
 - เซรามิกที่ไม่มี ความพรุนตัวมีความขาวพิเศษและโปรงแสงหรือเซรามิกชนิดพอร์ซเลนและโบนไชนาฯลฯ
ตลาดนัดเซรามิคลำปาง
                    ณ วันนี้อาจพูดได้ว่าผลิตภัณฑ์เซรามิคจากลำปางครองตลาดด้านนี้เกือบหมดสิ้น ไม่ว่าจะเป็นถ้วยชามในห้องครัว กระถางต้นไม้ โอ่ง ไห เครื่องประดับสวนหย่อม รวมไปถึงของจุกจิก ของที่ระลึกอีกมากมาย และดูเหมือนนับวันจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมาอย่างต่อเนื่องจากโรงงานที่มีมากราว 300 โรง ตั้งแต่โรงงงานเล็กๆแบบครอบครัวที่ผลิตสินค้าเกรดรองๆและราคาถูกไปจนถึงโรงงานที่มีเทคโนโลยี่ขั้นสูงเพื่อผลิตสินค้าเกรด A
ลำปางมีชื่อเสียงเรื่องการทำถ้วยชามมานานหลายสิบปี ตั้งแต่สมัยที่ยังใช้ถ้วยใช้จานที่ปั้มมาจากสังกะสี รวมไปถึงช้อนกินข้าวด้วย ตอนนั้นถ้วยชามที่เป็นกระเบื้องมีราคาแพงกว่าถ้วยสังกะสี ความคงทนยังสู้ถ้วยชามสังกะสีไม่ได้ แต่ต่อมาถ้วยกระเบื้องมีราคาถูกลง ปลอดภัยและไม่เป็นสนิม พวกจานชามสังกะสีเคลือบแบบดั่งเดิมจึงค่อยๆเสื่อมความนิยม
" ถ้วยตราไก่ " สินค้ายอดนิยมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน แรกเริ่มนั้นนิยมทำเป็นพวกถ้วยก๋วยเตี๋ยวเป็นส่วนใหญ่ ใบเล็กบ้างใหญ่บ้างถ้วยใบเล็กที่เห็นส่วนมากก็เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวเรือที่ใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนใบใหญ่ก็เป็นถ้วยก๋วยเตี๋ยวชามใหญ่ที่เห็นตามร้านอาหารทั่วไป
หากจะบอกว่า “ ถ้วยตราไก่อยู่คู่กับความอร่อยของร้านก๋วยเตี๋ยวมาเป็นเวลานาน ” ก็คงไม่ผิดนัก
เคยมีคนเล่าว่าทางโรงถ้วย ( ศัพท์ดั่งเดิมที่เรียกกัน ) เคยทำลวดลายแบบอื่นออกมาเหมือนกันแต่ปรากฏว่าขายไม่ดี จึงต้องทำแต่ถ้วยตราไก่มาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนตราไก่นั้นก็มาจากตราสัญญลักษณ์ของจังหวัดลำปางที่ใช้ รูปไก่ เป็นตราประจำจังหวัด แต่ต้องเป็นไก่แจ้นะครับ ( แต่ถ้าเป็นไก่โต้งแล้วถือว่าของปลอม และหนังเหนียวอีกต่างหาก )
โรงถ้วยสมัยก่อนต่างกับปัจจุบันมาก เดิมจะเป็นโรงงานเล็กๆแบบครอบครัวใช้ฝืนเป็นเชื้อเพลิง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้แก๊สเป็น เชื้อเพลิงแทน สามารถควบคุมอุณภูมิให้คงที่ เรียกเตาแบบนี้ว่า แบบ Shuttle Klin หรือแบบกระสวย ส่วนอีกชนิดหนึ่งเรียกว่าเตาแบบอุโมงค์ หรือแบบTunnel Klin ให้ความร้อนแบบต่อเนื่องในระดับอุณหภูมิสูงสุดถึง 1850 องศา C เตาชนิดนี้เป็นเทคโนโลยี่ขั้นสูงสำหรับโรงงานเพื่อการส่งออก และวางขายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ คุณสมบัติจะดูบอบบางแต่แกร่ง เหนียว ไม่แตกง่าย
โรงถ้วยที่ลำปางมีมาเมื่อราวปี 2490 หรือเมื่อ 60 ปีมาแล้ว จากกลุ่มชาวจีนตระกูล แซ่ฉิน ” “ แซ่อื้อ และ แซ่กว๊อก ” ที่ได้ ค้นพบว่าดินขาวที่อำเภอแจ่ห่ม จังหวัดลำปางเป็นดินที่เหมาะสำหรับทำถ้วยชาวกระเบื้อง ต้นกำเนิดในเรื่องการค้นพบดินขาวนี้มาจาก หินลับมีด ที่สมัยก่อนหินลับมีดจะเป็นลักษณะก้อนโตรูปสีเหลี่ยม ขนาดยาวพอๆกับไม้บรรทัด สกัดมาจากหินปูนบ้าง หินทรายบ้าง หรือพวกหินแร่บางอย่างตามแต่จะหาได้ในท้องถิ่น ส่วนที่ลำปางเป็นหินสีขาวคล้ายหินปูนแต่เนื้อจะไม่แกร่งเท่า เมื่อนำมาสกัดเป็นรูปทรงเหลี่ยมก็ใช้เวลาไม่นานนัก แต่ก็มีข้อเสียที่เปราะบางและแตกง่าย
หินลับมีดจากลำปางกลายเป็นต้นกำเนิดของการค้นหาแหล่งดินของชาวจีนไท้ปู อันเป็นเมือง ที่มีชื่อเสียงทางด้านผลิตถ้วยจานชามชื่อ " ซิมหยู แซ่ฉิน " (โรงงานธนบดีสกุลในปัจจุบัน) และ" เซี๊ยะหยุย แซ่อื้อ " ( โรงงานไทยมิตรในปัจจุบัน ) รวมทั้ง " ซิวกิม แซ่กว๊อก " ร่วมกันออกค้นหาแหล่งดินขาวโดยมีทวีผลเจริญ เจ้าของโรงงานเซรามิคย่านวงเวียนใหญ่กรุงเทพฯ ให้การสนับสนุนด้านการเงิน กระทั่งพบแหล่งดินขาว บ้านปางค่า อำเภอแจ้ห่ม ระหว่าง กม . 26-27 ถนนลำปาง - แม่ทะ เมื่อปี 2490
มกราคม 2548 จากแยกตัดใหม่ใกล้วัดลำปางหลวงไปประมาณ 2-3 กม. มีพวกเครื่องเซรามิคขายอยู่ข้างทาง วางกลางแจ้งบ้าง อยู่ในเพิงมุงจากบ้าง ดีหน่อยก็เป็นหลังคาแบบถาวร ที่นี่เป็นตลาดเซรามิคที่พอสังเกตุกันได้ไม่ยากนัก เพราะรอบด้านก็เป็นทุ่งนา จึงมองเห็นเป็นเพิงเป็นหลังคากันมาแต่ไกล
ที่นี่เป็นตลาดขายส่งที่มีของชิ้นเล็กชิ้นน้อยไปจนถึงชิ้นใหญ่ที่ไม่สามารถใส่ท้ายรถเก๋งได้ ถึงใส่ได้ก็ต้องระวังแตกด้วย แม่ค้าบอกว่าที่เห็นๆนี้มีราวๆ 200 โรงงาน เป็นโรงงานที่อยู่ในพื้นที่อำเภอเกาะคาและห้างฉัตรเป็นส่วนใหญ่ บอกว่าเดี๋ยวนี้เปลี่ยนมาทำเป็นอุตสาหกรรมกันหมดแล้ว ไม่ได้ทำแบบชาวบ้านเหมือนเมื่อก่อน
ตลาดเซรามิคริมทางที่นี่เป็นตลาดขายส่ง ขายกันแบบเป็นมัดเป็นกอง แต่ดูแล้วน่าจะเป็นสินค้าเกรดรอง ชิ้นงานบางอย่างดูไม่ค่อยเรียบร้อย เวลาซื้อจึงต้องเลือกต้องคัดกันด้วย หากไม่ถือสาว่าจะต่างกันบ้างนิดๆหน่อยๆก็คงไม่มีปัญหาอะไร

ลำปางมีโรงงานเซรามิคอยู่ราว 200- 300 โรง เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ โรงงานขนาดเล็ก เครื่องมืออาจไม่ทันสมัย ยังควบคุมอุณหภูมิไม่ดีพอ สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานยังมีมาก ส่วนโรงงานขนาดใหญ่มีครื่องจักรทันสมัยกว่า ควบคุมอุณหภูมิในเตาเผาได้ตามมาตรฐาน สินค้าจากโรงงานเหล่านี้จึงเป็นสินค้าเกรด A มีแบรนด์เป็นของตนเอง สามารถส่งออกและแข่งกับคู่แข่ง รายลำคัญในตลาดโลกได้
ปัจจุบันการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิคแตกต่างจากเมื่อหลายสิบปีก่อนที่เป็นฝีมือชาวบ้าน แต่ปัจจุบันมีดีไซน์เนอร์ที่ร่ำเรียนมาโดยตรงและมีความคิดก้าวหน้า ทำให้มีผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆออกมาอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นความคิดสร้างสรร และเป็นงานฝีมือที่ผสมผสานกับศิลปะ
ด้านตลาดเซรามิค น่าจะพูดได้ว่ามีอนาคตที่สดใสมาก บางปีก็ผลิตไม่ทันจนถึงขั้นปิดรับการสั่งซื้อชั่วคราว ตลาดส่งออกที่สำคัญจะอยู่ในแถบยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น นับว่าสามารถยืนผงาดบนเวทีนี้ได้อย่างมั่นอกมั่นใจ โดยเฉพาะเป็นลักษณะงานกึ่งฝีมือที่ต่างชาติให้การยอมรับ ดังนั้นลู่ทางของธุรกิจด้านนี้นับว่าดีทีเดียว
จากถ้วยตราไก่ในยุคแรกๆ ได้ทอดสะพานมาไกลถึง 60 ปี จนกลายเป็นสินค้าที่ส่งไปตีตลาดโลกได้อย่างน่าภาคภูมิ สร้างงานสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นได้ไม่น้อย หากจะซื้อถ้วยชามหรือผลิตภัณฑ์เซรามิคครั้งต่อไปลองอุดหนุนแบบทีมีตราไก่มาใช้บ้าง ก็จะถือว่าช่วย สืบสานตำนานถ้วยตราไก่ของจังหวัดลำปางให้ยืนนานสืบไป